มหาเวสสันดร หรือ มหาชาติชาดก
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่
๑oเรื่องที่เรียกกันว่า
ทศชาติ แต่อีก ๙ เรื่อง ไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่า มหาชาติ
ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดประทานอธิบายว่า
พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ
ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑o บารมี
เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยมีความเชื่อกันว่า
การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล
พ.ศ. ๒๐๒๕ เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์
ร่ายมีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้นามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก คือพ.ศ. ๒๑๔๕ เรียกชื่อว่า
"กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศนา
รายชื่อผู้แต่ง
๑.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
๒.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓.กวีสำนักวัดถนน
๔.กวีวัดสังขจาย
๕.พระเทพโมลี (กลิ่น)
๖.เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ลักษณะคำประพันธ์ :
ความเรียงร้อยแก้ว ร่ายยาว กลบท
กลอนพื้นบ้าน ซึ่งจะแล้วแต่ว่ากัณฑ์ใด และกวีท่านใดเป็นผู้แต่ง
วัตถุประสงค์ : ใช้เป็นบทสวด และ
ใช้ในการเทศนาสั่งสอน
พระเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
ดังนี้
๑.
กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขรพรรษ
พระสงค์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องมหาเวสสันดรชาดก
เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ 98 นับแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ้งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร
ทรงอธิษฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญจบลงตอนพระนางได้รับพร 10 ประการจากพระอินทร์
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา
ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีที่เป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ
บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่าย
มีรูปร่างที่งดงาม มีความประพฤติดีกริยาเรียบร้อย
๒.
กัณฑ์หิมพานต์ พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยกับพระนางผุสดี
แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติที่ตรอกพ่อค้า
เมื่อพระเวสสันดรได้รับเวนราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่กษัตริย์แคว้นกลิงคราชฎร์
ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาทุกประการ
ครั้นตายแล้วได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้ว
จะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาลหรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมายนานาประการจะประมาณมิได้
ประกอบด้วยการสบายใจทุกอิริยาบถ
๓. กัณฑ์ทานกัณฑ์
ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตสดก มหาทาน คือช้าง ม้า รถ ทาสชาย
ทาสหญิง โคนม และ นางสนม อย่างละ 700 อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทองทาส ทาสี และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า
ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขในปราสาทแล้วด้วยแก้ว
7 ประการ
๔. กัณฑ์วนปเวสน์
พระเวสสันดรทรงพระนางมัทรีและพระชาลี ( โอรส ) พระกัณหา (ธิดา )
เสด็จจากเมืองผ่านแคว้น เจตราษฎร์ จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีป เป็นผู้ทรงปรีชาเฉลียวฉลาดสามาร๔ปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไป
๕. กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์
ขอทานได้นางอมิตตาบุตรสาวของเพื่อนเป็นภรรยา นางใช้ให้ชูชกไปของสองกุมาร
ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฎณ์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง
พบพรานเจตบุตรลวงพรานเจตบุตรให้บอกทางไปยังเขาวงกต อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าคนทั้งหลาย
จะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยา
และบุตรธิดาก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย
๖. กัณฑ์จุลพน
ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางที่เจตบุตรแนะจนถึงที่อยู่ของอัจจุตฤๅษี
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
แม้จะบังเกิดในปรภพใดๆจะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร
จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยไม้หอมตรลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยประทุมชาติ
ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบต่อไป
๗.
กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุตฤๅษี
ให้บอกทางผ่านป่าไม้ใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเสวยสมบัติใดในดาวดึงส์เทวโลกนั้นแล้ว
จะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมี
อุทยานและสระโบกขรณีที่เป็นประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป
อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิตย์นิรันดร
๘. กัณฑ์กุมาร
ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปแล้วได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยที่พระศรีอาริยาเมตไตรมาอุบัติก็จะได้พบศาสนาของพระองค์
จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์
แล้วบรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง 4 ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้
๙. กัณฑ์มัทรี
พระนางมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่าออกติดตสมสองกุมารตลอดทั้งคืน จนถึงทรงงิสัญญี
( สลบ ) เฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร
เมื่อทรงฟื้นแล้วพระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงเกี่ยวกับสองพระกุมาร
พระนางทรงอนุโมทนาด้วย อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นผู้มีอายุยืนยาวทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย
จะไปในที่ใดๆก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน
๑o. กัณฑ์สักกบรรพ
พระอินทร์พระเกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลขอพระนางมัทรีแล้วฝากไว้กับพระเวสสันดร
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเป็นผ้ที่เจริญด้วยลาภยศตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง 4
คืออายุวรรณธ สุขะ พละ ตลอดกาล
๑๑.
กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าไปแคว้นสีวีราษร์ พระสัญชัย ทรงไถ่สองกุมาร
ชูชกได้รับพระรายชทานเลี้บง และ ถึงแก่กรรมด้วยกินอาหารมากเกินควร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
จะได้มนุษสมบัติ สวรรค์สมบัติ
และนิพพานสมบัติเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชาเมื่อจากโลกมนุษย์ไปก็จะไปเสวยทิพยืสมบัติ
ในฉกามาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรเป้นบริวาร
ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติอันตัดเสียซึ้งชาติ ชรา พยา มรณธ
พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะ เป็นต้น
๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์
กษัตริย์แคว้นถลิงราชย์ทรงคืนช้างปัจจัยนาเคนทร์ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี
พระชาลี พระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรีกลับพระนคร
เมื่อกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ทรงพบกันก็ทรงวิสัญญี ต่อมาฝนโบกขรพรรษตกจึงทรงฟื้นขึ้น
อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้ที่เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ
วรรณะ สุขะ พละ ทุกๆชาติแล
๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์
กษัตริย์หกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม
บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ
จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้ยวงคาคณาญาติข้าทาสชาย-หญิง ธิดา สามี หรือบิดามารดา
เป็นต้นอยู่พร้อมหน้ากันด้วยความผาสุก ปราศจากดรคาพาธทั้งปวง
จะทำการใดๆก็พร้อมเพียงกันยังการงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น