วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชาดก

ชาดก

คำว่า ชาดก (जातक) มาจาก ภาษาบาลี มีความหมายว่า  “เกิดคือเรื่องราวของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์เสวยพระชาติต่างๆ เป็นมนุษย์บ้าง อมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์บ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ผู้ใดจะทรงยกชาดก ซึ่งเป็นเรื่องที่อิงธรรมะมาเล่าเพื่อผู้ฟังจะได้เข้าใจง่าย
ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ประเภทของชาดก มี 2 ประเภท  คือ
๑. นิบาตชาดก   เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี ๕ เรื่อง   แบ่งออกเป็นหมวดๆ  ตามจำนวนคาถา   นับตั้งแต่ ๑ คาถาถึง ๘ คาถา   ชาดกที่มี ๑ คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก   ๒ คาถาเรียกว่า  ทุกนิบาตชาดก  ๓ คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก  ๔ คาถาเรียกว่า  จตุคนิบาตชาดก  ๕ คาถาเรียกว่า  ปัญจกนิบาตชาดก  ชาดกที่มีเกิน ๘ คาถาขึ้นไปเรียกว่า  มหานิบาตชาดก  ซึ้งมี ๑๐ เรื่อง  เรียก  ทศชาติ  หรือ  พระเจ้าสิบชาติ

๒. ปัญญาสชาดก   เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง  ไม่มีในพระไตรปิฎก  หรือเรียกว่า  ชาดก นิบาตมี ๕ เรื่อง  พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒-๒๒  เป็นภาษามคธ  โดยเลียนแบบนิบาตชาดก  ครั้นเมื่อพ.ศ.๒๔๔-๒๔๔๘ พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์  ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก  หอพระสมุดสำหรับพระนคร  ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย  เรื่องปัญญสชาดกจึงแพร่หลาย




ขอขอบคุณข้อมูลจาก



วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทศชาติชาดก

ทศชาติชาดก

ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง ๑๐ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง ๑๐ เรื่องมี ดังนี้
๑. เตมีย์ชาดก                          บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
๒. ชนกชาดก                          บำเพ็ญวิริยบารมี
๓. สุวรรณสามชาดก               บำเพ็ญเมตตาบารมี
๔. เนมิราชชาดก                     บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
๕. มโหสถชาดก                     บำเพ็ญปัญญาบารมี
๖. ภูริทัตชาดก                         บำเพ็ญศีลบารมี
๗. จันทชาดก                          บำเพ็ญขันติบารมี
๘. นารทชาดก                         บำเพ็ญอุเบกขาบารมี
๙. วิทูรชาดก                           บำเพ็ญสัจจบารมี
๑๐.เวสสันดรชาดก                 บำเพ็ญทานบารมี




เนื้อเรื่องโดยย่อ
๑. เตมียชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม    เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรากมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำใหนำราชกุมารไปฝังเสีย
พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถเพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุ่มอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวชสารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ
ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมากสดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม

๒. มหาชนกชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี    คือความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่างเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้

๓. สุวรรณสามชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า    มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนูด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง

๔ . เนมิราชชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือความตั้งมั่นคง    มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา

๕ . มโหสถชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้   มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้

๖ . ภูริทัตชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล   มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมารต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ

๗ . จันทกุมารชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน   มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร
เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมร์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้นบูชายัญ
พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าในผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์  มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์

๘ . นารทชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย   มีเรื่องเล่าว่า พรหมนารทะช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ)

๙ . วิฑูรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์    มีเรื่องเล่าว่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา
แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่

๑๐ . เวสสันดรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือบริจากทาน    มีเรื่องเล่าถึงพระเวสสันดรผู้ใจดีบริจากทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่งประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ชาวกาลิงคะ ซึ่งมาขอช้างไปเพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดาจึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย
เมื่อชูชกไปขอสองกุมาร ก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัยพระราชบิดาทรงไถ่สองกุมาร แล้วเสด็จไปรับกลับกรุง ( เรื่องนี้แสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มหาเวสสันดรชาดก

ก่อนอื่นเรามารู้จัก มหาเวสสันดรชาดกกันก่อนนะครับ




มหาเวสสันดร หรือ มหาชาติชาดก

เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑oเรื่องที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑o บารมี
 เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๐๒๕ เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่ายมีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้นามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก  คือพ.ศ. ๒๑๔๕ เรียกชื่อว่า "กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศนา

รายชื่อผู้แต่ง
 ๑.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
 ๒.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 ๓.กวีสำนักวัดถนน
 ๔.กวีวัดสังขจาย
 ๕.พระเทพโมลี (กลิ่น)
 ๖.เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์ : ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน ซึ่งจะแล้วแต่ว่ากัณฑ์ใด และกวีท่านใดเป็นผู้แต่ง

วัตถุประสงค์ : ใช้เป็นบทสวด และ ใช้ในการเทศนาสั่งสอน

พระเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ดังนี้

๑. กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขรพรรษ พระสงค์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ 98 นับแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ้งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิษฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญจบลงตอนพระนางได้รับพร 10 ประการจากพระอินทร์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีที่เป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่าย มีรูปร่างที่งดงาม มีความประพฤติดีกริยาเรียบร้อย

            ๒. กัณฑ์หิมพานต์ พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยกับพระนางผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติที่ตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้รับเวนราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่กษัตริย์แคว้นกลิงคราชฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาทุกประการ ครั้นตายแล้วได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้ว จะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาลหรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมายนานาประการจะประมาณมิได้ ประกอบด้วยการสบายใจทุกอิริยาบถ

            ๓. กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตสดก มหาทาน คือช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และ นางสนม อย่างละ 700 อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทองทาส ทาสี และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขในปราสาทแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ

            ๔. กัณฑ์วนปเวสน์ พระเวสสันดรทรงพระนางมัทรีและพระชาลี ( โอรส ) พระกัณหา (ธิดา ) เสด็จจากเมืองผ่านแคว้น เจตราษฎร์ จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีป เป็นผู้ทรงปรีชาเฉลียวฉลาดสามาร๔ปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไป

            ๕. กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ ขอทานได้นางอมิตตาบุตรสาวของเพื่อนเป็นภรรยา นางใช้ให้ชูชกไปของสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฎณ์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบพรานเจตบุตรลวงพรานเจตบุตรให้บอกทางไปยังเขาวงกต อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยา และบุตรธิดาก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย

            ๖. กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางที่เจตบุตรแนะจนถึงที่อยู่ของอัจจุตฤๅษี อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ แม้จะบังเกิดในปรภพใดๆจะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยไม้หอมตรลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยประทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบต่อไป

            ๗. กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุตฤๅษี ให้บอกทางผ่านป่าไม้ใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเสวยสมบัติใดในดาวดึงส์เทวโลกนั้นแล้ว จะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมี อุทยานและสระโบกขรณีที่เป็นประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิตย์นิรันดร

            ๘. กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปแล้วได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยที่พระศรีอาริยาเมตไตรมาอุบัติก็จะได้พบศาสนาของพระองค์ จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง 4 ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้

            ๙. กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่าออกติดตสมสองกุมารตลอดทั้งคืน จนถึงทรงงิสัญญี ( สลบ ) เฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงฟื้นแล้วพระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงเกี่ยวกับสองพระกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นผู้มีอายุยืนยาวทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่ใดๆก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน

            o. กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์พระเกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลขอพระนางมัทรีแล้วฝากไว้กับพระเวสสันดร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเป็นผ้ที่เจริญด้วยลาภยศตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง 4 คืออายุวรรณธ สุขะ พละ ตลอดกาล

            ๑๑. กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าไปแคว้นสีวีราษร์ พระสัญชัย ทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระรายชทานเลี้บง และ ถึงแก่กรรมด้วยกินอาหารมากเกินควร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้มนุษสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชาเมื่อจากโลกมนุษย์ไปก็จะไปเสวยทิพยืสมบัติ ในฉกามาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรเป้นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติอันตัดเสียซึ้งชาติ ชรา พยา มรณธ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะ เป็นต้น

            ๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ กษัตริย์แคว้นถลิงราชย์ทรงคืนช้างปัจจัยนาเคนทร์ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี พระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรีกลับพระนคร เมื่อกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ทรงพบกันก็ทรงวิสัญญี ต่อมาฝนโบกขรพรรษตกจึงทรงฟื้นขึ้น อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้ที่เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกๆชาติแล

            ๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์หกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้ยวงคาคณาญาติข้าทาสชาย-หญิง ธิดา สามี หรือบิดามารดา เป็นต้นอยู่พร้อมหน้ากันด้วยความผาสุก ปราศจากดรคาพาธทั้งปวง จะทำการใดๆก็พร้อมเพียงกันยังการงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ขอบคุณข้อมูลจาก



วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร

                                                กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร



เนื้อเรื่องโดยย่อ
เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว  พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อมีดังนี้
๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
            ๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
            ๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
            ๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
            ๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
            ๖. ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
            ๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
            ๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
            ๙. ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
            ๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

มิใช่เพียงพร ๑๐ ประการ ที่หนุนเนื่องให้พระนางผุสดีได้เป็นพระพุทธมารดาในชาติกาลต่อมา    ครั้งอดีตชาติ พระนางเคยเฝ้าถวายแก่นจันทร์แดงเป็นพุทธบูชา แก่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งทรงอธิษฐาน ตั้งพระปรารถนาให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคตชาติด้วย

อานิสงส์
ผู้ใด บูชากัณฑ์ทศพร ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกัน จะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่ายมีรูปกายงดงาม มีความประพฤติดีกิริยาเรียบร้อยทุกประการฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิต ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ
            ๑. ต้องกระทำความดี
            ๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้
            ๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก










วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทศพรคาถา

                                                       ทศพรคาถา



การเทศน์กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร [แหล่อิสาน]

ผุสฺตี วรวณฺณาเภติ อิทํ สตฺถา กปิลวตฺถุสมึ อุปนิสฺสาย 
นิโคฺรธาราเม วิหรนฺโต โปกฺขรวสฺสํ อารพฺภ กเถสิ ฯ
ทำนองธรรมวัตร สตฺถา สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ ปางเมื่อพระองค์เสด็จอาศัยซึ่งกรุงกบิลพัสดุ์บุรี เป็นที่ภิกขาจาร ทรงสำราญพระพุทธหฤทัยในนิโครธารามบรมพุทธาธิวาส แห่งศากยราชร่วมพระประยุรวงศ์บริวัตร อารพฺภ ทรงปรารภซึ่งฝนโบกขรพรรษให้เป็นอุบัติเหตุ กเถสิ จึงตรัสเทศนาพระมหาเวสสันดรชาดก ให้เป็นผลาดิลกยอดยิ่งพระญาณ พระอรหันต์นับประมาณห้าร้อยพระองค์ แต่ล้วนทรงพระปฏิสัมภิทา มีพระมหากัสสปเถระเป็นต้น มีพระอานนท์เป็นปริโยสาน อุปลักขิตนาการกำหนดด้วยบทต้นพระคาถาว่า ผุสฺตี วรวณฺณาเภ เป็นปฐมบาทดังนี้ก่อน
ยทา กาลใดพระศาสดาจารย์ ได้ตรัสแด่พระปรมาภิเศกสัมโพธิญาณยอดธรรมวิเศษ พระองค์จึงตรัสเทศนาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้งห้า แล้วพระองค์ก็เสด็จไปยังราชคฤหบุรีโดยลำดับ เสด็จยับยั้งอยู่สิ้นเหมันตฤดู ในพระเวฬุวนารามมหาวิหาร พระกาฬุทายีเถรเจ้าเป็นมัคคุเทศก์ผู้แสดงทางพระพุทธดำเนิน พระองค์จึงเสด็จพระพุทธลีลาโดยมรรคาครั้งนั้น ล้วนพระขีณาสพอรหันต์เจ้าสองหมื่นชื่นชมตามเสด็จมิทันช้า พระศาสดาก็เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์บุรี เป็นปฐมทีแรก เสด็จประทับอยู่ที่ฝั่งชลธี
แลมรรคาแต่ราชคฤห์มาถึงกบิลพัสดุ์ไกลถึง๖O โยชน์เป็นกำหนด เมื่อสมเด็จพระบรมศรีสุคตเสด็จพระพุทธดำเนินโดยอุตริตจาริกมิได้เร่งรีบ ล่วงมรรคาวันละโยชน์ๆ ถึง ๖O ราตรี ก็บรรลุกบิลพัสดุ์บุรีมหานคร เมื่อวันวิสาขบุรณมีเพ็ญเดือนหก เป็นมหามงคลสมัย
ปางนั้น พระบรมวงศ์ศากยราช ทรงทราบว่าพระบรมโลกนาถศาสดาเสด็จมาถึง จึงพร้อมกันทุกพระองค์ ทรงพระปราโมทย์ ตรัสสั่งให้แต่งนิโครธมหาวิหาร แล้วจึงประดับเครื่องอลังการทุกพระองค์ ทรงพระภูษาทุกุลพัสตร์พระหัตถ์ทรงเครื่องสักการบูชา แล้วก็ปัจจุคคมนาการ เชิญเสด็จสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ให้ทรงพระที่นั่งเรือขนาน จากชลธารถึงนิโครธารามบรมนิเวศน์ สมเด็จพระโลกเชษฐ์เสด็จประทับเหนือบวรพุทธอาสน์ ส่วนพระบรมญาติทุกพระองค์ทรงมานะทิฏฐิ ต่างพระองค์ทรงพระราชดำริตริตรึกในพระทัยว่า สมเด็จพระสิทธัตถะมีพระบวรวิลาสสดใส เพิ่งจะทรงเจริญวัยหนุ่มนัก ทั้งพระบวรลักษณ์ก็งามบริสุทธิ์ มีพระชนมายุคราวบุตรและนัดดา เราจะอภิวันทนาดูไม่สมควร ก็ชวนกันนั่งอยู่ในเบื้องหลัง ยังพระราชกุมารหนุ่มๆ ทั้งนั้นให้ถวายวันทนา
สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงทราบพระอัชฌาสัยกมลหฤทัยพระบรมญาติทุกพระองค์ อันทรงซึ่งมานะไปหมด ควรตถาคตจะทรมานพระประยูรญาติ ให้ปราศจากมานะทิฏฐิ สมเด็จพระผู้ทรงบุญศิริก็เข้าสู่พระจตุตถฌาน มีอภิญญาณเป็นที่ตั้งดำรงพระองค์ เสด็จเหาะตรงขึ้นสู่นภากาศ ประดุจจะยังธุลีละอองพระบาทให้เรี่ยรายลง ถูกเศียรเกล้าพระวงศ์ศากยราช เปล่งพระฉัพพรรณรังสิโยภาสรุ่งเรืองสว่าง อย่างพระยมกปาฏิหาริย์ ในมณฑลสถานไม้คัณฑามพพฤกษ์ ดูพิลึกเลิศมหัศจรรย์
ลำดับนั้น สมเด็จพระเจ้าศิริสุทโธทนพุทธบิดา ทอดพระเนตรเห็นมหัศจรรย์ ยกพระกรอภิวันทน์สรรเสริญพระพุทธเดชานุภาพว่า ภนฺเต ข้าแต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์อุดม พระพี่เลี้ยงนางนมข้างฝ่ายใน เชิญเสด็จพระองค์เข้าไปจะให้วันทนานมัสการชฎิลดาบส ปาเท ปริวตฺติตฺวา พระบาทบงกชทั้งคู่ดูดุจจะขึ้นประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งชฎิลดาบส ข้าพระพุทธเจ้าก็ประณตน้อมนมัสการโดยคำนับ
วปฺปมงฺคลทิวเส วันเมื่อข้าพระพุทธเจ้าทำวัปปมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญในท้องสนามหลวง พระพี่เลี้ยงทั้งปวงเชิญเสด็จพระองค์ไปบรรทมอยู่เหนือพระยี่ภู่ ปูด้วยผ้าทุกุลพัสตร์ ในบริเวณจังหวัดร่มไม้หว้า ชมฺพุฉายา เมื่อตะวันชายเงาไม้มิได้บ่ายไปตามตะวัน บังกั้นพระองค์อยู่ดูประดุจพระกลด ครั้งนั้นข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ประณตนอบนบเป็นคำรบสอง สามทั้งครั้งนี้ เมื่อสมเด็จพระบรมชนกาธิบดีศิริสุทโธทน์ ทรงพระปราโมทย์ถวายอภิวาท เหล่าศากยราชสิ้นทุกพระองค์ มิอาจจะทรงมานะอยู่ได้ก็พร้อมกันถวายวันทนา
นาโถ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ เมื่อพระองค์ยังพระบรมญาติทั้งหลาย ให้ถวายนมัสการทุกๆ พระองค์แล้ว จึงเสด็จคลาดแคล้วลีลาลงจากนภดลอากาศ เสด็จนั่งเหนือพระบวรพุทธอาสน์อย่างเอก ขณะนั้นมหาเมฆอันใหญ่ตั้งขึ้นมา ยังท่อธาราห่าฝนโบกขรพรรษ ให้ ปวัตตนาการเป็นท่อธารไหลไป สีน้ำนั้นแดงใสบริสุทธิ์ แม้ว่ามนุษย์หญิงชายผู้ใด ปรารถนาจะมิให้ถูกต้องกายแห่งตน แม้มาตรว่าแต่ขุมขนก็มิได้ชุ่มไปด้วยน้ำน่ามหัศจรรย์ ตกลงแล้วก็ไหลลั่นสนั่นไปใต้พื้นพสุธา ส่วนพระบรมวงศาศากยราช ทอดพระเนตรเห็นพุทธอำนาจมหัศจรรย์ ก็พากันทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์ตรัสว่ามหัศจรรย์ในครั้งนี้ แต่ก่อนไม่เคยมีเราไม่เคยเห็น หากบันดาลเป็นด้วยอำนาจพุทธานุภาพพระบรมศาสดา ตรัสแล้วก็น้อมพระเศียรเกล้าถวายบังคมลาสมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า ต่างเสด็จกลับเข้ายังพระราชวัง
วีสติสหสฺสานิ ฝ่ายพระอรหันต์สองหมื่นก็ชื่นชมปรีดา สั่งสนทนากันว่า แต่กาลก่อนมิได้เคยทัศนาเหมือนครั้งนี้ สตฺถา สมเด็จพระชินสีห์สัพพัญญู เสด็จมาสู่ที่ประชุมจึงตรัสถาม ทรงทราบความตามเรื่องที่ภิกษุสั่งสนทนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหัศจรรย์ห่าฝนสวรรค์โบกขรพรรษ ปวัตตนาการตกลงมาในที่ประชุมพระบรมญาติทั้งนี้ ย่อมมีมาแล้วแต่กาลก่อน พระองค์ตรัสฉะนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพ พระภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะใคร่ทราบจึงทูลอาราธนา สมเด็จพระศาสดาก็นำมาซึ่งอดีตนิทาน ตรัสเทศนาว่า
อตีเต ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ทั้งหลาย ในอดีตกาลล่วงแล้วแต่ปางหลัง ยังมีบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าสีวิราชบรมกษัตริย์ เถลิงถวัลยราชสมบัติในกรุงสีวิราษฎร์บุรี พระองค์มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่งชื่อว่าสญชัยราชกุมาร ครั้นทรงวัฒนาการเจริญวัย สมเด็จพระราชบิดามอบสิริราชสมบัติให้ครอบครองพระพาราสีวิราษฎร์บุรี อภิเษกกับพระผุสดีราชธิดา แห่งสมเด็จบรมกษัตราจอมจุฑามัททราช พระเยาวมาลย์มาศมิ่งมกุฎผุสดี แต่ปางก่อนพระนางมีมูลปณิธีได้ตั้งไว้ ตั้งแต่ภัททกัปนับถอยหลังลงไปได้เก้าสิบเอ็ดกัป พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มาอุบัติในโลก พระองค์เสด็จอยู่ในพระวิหารมฤคทายวัน ใกล้พันธุมดีมหานครกาลครั้งนั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่งเสวยราชสมบัติในนคร อันเป็นเขตขึ้นนครพันธุมดี ส่งมาซึ่งสุวรรณมาลีวิมลมาศราชบรรณาการ กับทั้งรัตตจันทนสารแก่นจันทน์แดง มาถวายแด่พระเจ้าพันธุมราช พระองค์ก็ประสาทจันทนสารให้แก่พระผุสดี สุวรรณมาลีดอกไม้ทอง พระองค์ประทานให้แก่พระธิดาผู้น้องด้วยความเสน่หา ส่วนพระราชธิดาทั้งสองก็มาตริตรองการ เห็นแท้ว่ามิได้เป็นแก่นสารที่จะประดับในกาย ควรจะนำไปถวายเป็นพุทธบูชา สองพระราชธิดาจึงกราบทูลแด่สมเด็จพระปิตุราช พระองค์ก็ทรงพระอนุญาตยอมอนุโมทนา ด้วยพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ฝ่ายพระราชบุตรีผู้พี่นั้น ก็ให้บดแก่นจันทน์เป็นวิเลปนะเครื่องลูบไล้ ใส่ลงในผอบทองอันบรรจงวิจิตร ฝ่ายพระกนิษฐนารีผู้น้องน้อยก็พลอยมีศรัทธา จึงเอาสุวรรณมาลาดอกไม้ทอง ให้นายช่างประดิษฐ์กรองกระทำ เป็นสุวรรณมาลาดอกไม้ทอง ให้นายช่างประดิษฐ์กรองกระทำเป็นสุวรรณมาลาเครื่องประดับอุรพางค์ แล้วพระนางโปรดให้สาวใช้หยิบยกไปสู่พระวิหาร สรีรํ ปูเชตฺวา ฝ่ายพระเยาวมาลย์ราชธิดาองค์ใหญ่นั้น ก็บูชาพระทศพลด้วยจุณจันทน์ ที่เหลือนั้นก็เรี่ยรายปรายโปรยในสถานที่พระคันธกุฎี พระนางก็ตั้งพระปณิธานวาทีด้วยบาทพระคาถาว่า
เอสา จนฺทนจุณเณน ปุชา ตุเมฺหสุ เม กตา ตุมฺหาทิสสฺส พุทฺธสฺส มาตา เหสฺสํ อนาคเตติ ภนฺเต
ข้าแต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค เอสา ปูชา อันว่าการสักการบูชา อันข้าพระพุทธเจ้ากระทำในพระองค์ ด้วยผงจุณแก่นจันทน์นี้ ขอให้ข้าได้สมความยินดีเป็นพระพุทธมารดาพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล อันทรงพระคุณวิเศษญาณปรากฏเหมือนดังพระองค์ฉะนี้
ส่วนพระกนิษฐนารีผู้น้อง ก็นำเอาดอกไม้ทองเครื่องประดับอุราบูชาสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วก็ตั้งปณิธานความปรารถนา ในที่เฉพาะพระพักตร์พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนางกล่าวเป็นบาทพระคาถาว่า

ภนฺเต สุวณฺณมาลาย มยา ตฺวํ ปูชิโต อาสิ เตน มยฺหํ อุเร โหตุ มาลา ปุญฺเญน นิมฺมิตาติ ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทศพลญาณ เดชะเกล้ากระหม่อมฉันกระทำสักการบูชาแก่พระองค์ด้วยสุวรรณมาลีเครื่องประดับสำหรับอุระนี้ ขอให้บุญราศีตกแต่งสำเร็จความปรารถนา ให้ลายลักษณวราบุบผาชาติพิเศษ เกิดปรากฏในอุระประเทศแห่งข้าพระบาท สมเด็จพระโลกนาถก็ตรัสอนุโมทนา โดยบาทพระคาถาดังนี้
ยา เจตฺถ ตุเมฺหหิ ปูชา มยฺหํ ปติฏฺฐิตา ตาย อิชฺฌนฺตุ ตุมฺหากํ ยถา โว ปตฺถนา ตถา
โดยพระบรมพุทธภาษิตว่า อันว่ามโนปณิธานความปรารถนาดังนี้ ที่ท่านทั้งสองตั้งไว้เป็นอันดีในสำนักตถาคต ขอจงให้สำเร็จมโนรถแก่ท่านทั้งสอง ด้วยผลานิสงส์ซึ่งได้กระทำพุทธบูชา พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ก็ทรงอภิรมย์เปรมปรีดิ์ ถวายนมัสการลาสมเด็จพระชินสีห์ แล้วก็เสด็จกลับยังปราสาท พระพี่น้องสองราชนารี ก็เกษมศรีเสวยสมบัติสิ้นกาลช้านาน เมื่อสิ้นพระชนมานก็บังเกิดในสวรรค์ ครั้นอวสานที่สุดชาติ พระราชธิดาผู้พี่ก็ได้เป็นพระบรมพุทธชนนีสมพระปรารถนา
ส่วนพระกนิษฐากุมารีผู้น้องนั้น ครั้นจุติจากสวรรค์ ก็ได้มาบังเกิดในขัตติยพันธุ์ เป็นพระราชธิดาพระเจ้ากิกิราช ในศาสนาพระพุทธกัสสปชินสีห์ พระราชบุตรีกอปรด้วยฉัพพรรณรังสีสุวรรณมาลามาศ ประดุจนายช่างผู้ฉลาดวาดเขียนเป็นเครื่องประดับพระอุระองค์อันรจนา จึงทรงพระนามอุรัจฉทาราชกุมารี เมื่อพระชนมายุได้สิบหกปี ได้ฟังภัตตานุโมทนาสมเด็จพระสัพพัญญู พระนางก็ตรัสรู้พระอรหัตต์ ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหาน เข้าสู่พระนิพพานในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ราชา สมเด็จพระเจ้ากิกิราช พระองค์มีพระราชธิดาอื่นอีก 7 พระองค์ ทรงพระนามต่างกัน คือ นางสมณี นางสมณโคตตา นางภิกขุณี นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา นางสุธัมมา นางสังฆทาสี
ส่วนนางสุธัมมานั้นครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทรงพระนาม ผุสดี เป็นพระอัครมเหสีสมเด็จอมรินทราเมื่อบุพพนิมิตรปรากฏแก่พระผุสดีเทพกัญญา เป็นเหตุจะจุติสิ้นพระชนมพรรษานิราศร้างจากทิพยสถาน สกฺโก เทวราชา สมเด็จท้าวมัฆวานตรีเนตร ทรงทราบเหตุปัญจบุพพนิมิตรห้าประการ อันเกิดแก่พระเยาวมาลย์มิ่งมเหสี จึงทรงพาเทพยผุสดีไปยังแท่นที่นันทวโนทยาน ยังพระเยาวมาลย์ให้บรรทมในแท่นทิพยไสยาสน์อันยิ่งยง ท้าวเธอก็เสด็จทรงพระไสยาสน์ร่วมทิพยอาสน์ด้วยพระผุสดีเทพอัปสร เมื่อท้าวเธอจะประสาทพรก็กล่าวเป็นบาทพระคาถาฉะนี้
ผุสตี วรวณฺณาเภ ฯลฯ วเร ทส ปเวจฺฉโต
เดิน สกฺโก สมเด็จอมรินทราธิราช จึงมีเทวราชบัญชาตรัสประภาษว่า ขึ้น ภทฺเท ดูกรเจ้าผู้มีสุนทรพักตร กอปรด้วยศุภลักษณ์อันวิเศษหาผู้จะติเตียนมิได้ ยํ วรํ พระพรสิ่งใดเป็นที่เจริญใจแห่งเจ้า อันจะลงไปบังเกิดในมนุษยโลก จะต้องวิโยคจากทิพยพิมาน วรสฺสุ เจ้าจงเลือกเอาพรสิบประการตามความปรารถนา เดิน พระผุสดีเทพกัญญาก็อัญชลีกรประณม บังคมทูลถามท้าวสหัสนัยน์เทวราช ขึ้น ว่ากรรมอันใดจะให้เคลื่อนคลาดจากทิพยพิมาน เหมือนลมพายุมาพัดพานเพิกถอนหมู่ไม้ ให้กำจัดไปจากพื้นพสุธา จงทรงพระกรุณาตรัสให้ทราบแก่ข้าผุสดี เดินสมเด็จท้าวโกสีย์อมรินทราธิราช เมื่อพระเยาวมาลย์มาศผุสดีสิ้นสมปฤดีประมาท จึงตรัสประภาษตอบสุนทรวาทีว่า ขึ้น ภทฺเท ดูกรเจ้าผุสดี อย่าหมองศรีโทมนัส เราทั้งสองจะต้องกำจัดจากกันในครั้งนี้ เจ้าจงภิรมย์ยินดีรับเอาซึ่งทศวรพรสิบประการ เดิน พระผุสดีสดับเทวโองการพลางพระเยาวมาลย์ก็กล่าวเป็นพระคาถาว่า
วรญฺเจ เม อโท สกฺก ฯลฯ ตตฺถ อสฺส มเหสิยา
ขึ้น สกฺก ข้าแต่สมเด็จอมรินทราธิราช ข้าพระบาทจะจากไปสู่มนุษย์เมืองไกล จะขอรับพระพรชัยทูลสนองเหนือเกศา ข้าพระบาทจะถวายบังคมลาลงไปเอาชาติกำเนิด ขอให้ข้าไปบังเกิดในปราสาท แห่งพระเจ้าสีวิราชอันทรงศักดิ์ มีพระราชอาณาจักรปกแผ่ไปในสกลชมพูทวีป ให้หมู่ประชาชนอยู่เป็นสุขสำราญเกษมศานต์ชื่นชม พระพรนี้เป็นปฐมขอให้สมดังปรารถนา นีลเนตฺตา ขอให้ข้ามีดวงเนตรทั้งสองดำเป็นสี เหมือนหนึ่งตามฤคีลูกเนื้อทราย อันเกิดได้ขวบปีปลายเป็นกำหนด พระพรนี้เป็นคำรบสองจงปรากฏแก่ข้าพเจ้า นีลภมู อนึ่งเล่า ขอให้ขนคิ้วข้าเขียวดูงามขำบริสุทธิ์ เป็นสีระยับดุจสร้อยคอมยุรยูงงาม พระพรนี้เป็นคำรบสามจงสมด้วยความปรารถนา ผุสฺตี นาม นาเมน ข้าแต่สมเด็จอมรินทราชาธิราช นามกรข้าพระบาทจงชื่อว่าผุสดี พระพรนี้เป็นคำรบสี่จงประสิทธิ์ดังประสงค์ ปุตฺตํ ลเภถ ขอให้ข้าพระองค์มีพระโอรส ทรงพระเกียรติยศยิ่งกว่ากษัตริย์ในสากล ทรงพระราชศรัทธาเพิ่มกุศล แก่หมู่ประชาชนทุกขอบเขตขัณฑสีมาอาณาจักร พระพรนี้เป็นคำรบห้าข้าผู้บริรักษ์ต้องประสงค์ เมื่อข้าพระองค์ทรงพระครรภ์พระโอรส อย่าให้ครรภ์ข้าพระบาทปรากฏนูน เหมือนสตรีทั้งมูลดูเวทนา จาปํว ลิขิตํ สมํ ให้มีครรภ์โอรสาดูงามพร้อมเหมือนคันธนูดูละม่อม อันนายช่างฉลาดเหลาเกลี้ยงเกลาพร้อมเสมอสมาน พระพรเป็นคำรบหกประการจงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า ถนา เม นปฺปวตฺเตยฺยํ อนึ่งเล่า ยุคลถันทั้งสองของข้าพระบาท เมื่อทรงครรภ์อย่าวิปลาสแปรผันดำปรากฏ แม้พระบวรปิโยรสจะเสวยทุกวันทุกเวลา อย่าคล้อยเคลื่อนเลื่อนลดลงมาจากพระทรวง ให้เต่งตั้งดังประทุมบัวหลวงงามบริสุทธิ์วิเศษเสร็จ พระพรนี้เป็นคำรบเจ็ดขอให้ลุดังปรารถนา ปลิตา นสฺสนฺตุ อนึ่งขอให้เส้นเกศาสีดำขลับสลับสลวยบริสุทธิ์ ประดุจสีปีกแมลงค่อมทอง เป็นมันระยับย่องควรจะทัศนา พระพรเป็นคำรบแปดขอให้สมเจตนาฉะนี้ สุขุมจฺฉวี ขอให้ผิวเนื้อละเอียดเป็นนวลละอองดังทองคำธรรมชาติ สกลกายใสสะอาดดูผ่องแผ้วหมดราคี พระพรเป็นคำรบเก้านี้จงประสิทธิ์ วชฺฌญฺจาปิ ปโมจเย อนึ่งคนโทษทุจริตอันเข้มข้น จะพินาศด้วยพระราชทัณฑ์ทำลายล้างชีวิต ขอให้ข้าได้เปลื้องปล่อยปลิดให้พ้นตาย ด้วยกำลังยศปริยายปัญญาญาณ พระพรเป็นคำรบสิบประการเรียกว่าพระพรชัยสิทธิ์อันวิเศษ ข้าแต่ท้าวสหัสเนตรเทวราช ขอพระองค์จงโปรดประสาทให้แก่ข้าพเจ้า ผู้เป็นบาทบริจาริกา
เดิน สกฺโก สมเด็จอมรินทรทราธิราช ได้ทรงฟังพจนาถสุนทรวาจา อันนางผุสดีเทพกัญญาทูลขอทศวรพรสิบประการ ก็ตรัสพระราชทานพรด้วยพระคาถาดังนี้
เย เต ทส วรา ทินฺนา มยา สพฺพงฺคโสภเน สิวิราชสฺส วิชิเต สพฺเพ เต ลจฺฉสิ วเร
ขึ้น ภทฺเท ดูกรเจ้าผุสดีผู้มีสุนทรพักตร พร้อมด้วยสรรพลักษณวิไลเลิศ เย เต ทส วรา ทินฺนา วรพรพิเศษประเสริฐสิ่งใดทั้งสิบประการ ที่เราประทานประสิทธิ์ให้ พระพรนั้นไซร้เจ้าจักได้สำเร็จสิ้นทุกประการ ในพระราชฐานแว่นแคว้นแดนอาณาจักรจอมนาถ แห่งสมเด็จพระเจ้าสีวิราชนั้น เทอญ
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห อิทํ วตฺวาน มฆวา เทวราชา สุชมฺปติ  ผุสติยา วรํ ทตฺวา อนุโมทิตฺถ วาสโวติ
ขึ้น ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสิกขา มฆวา อันว่าท้าวมฆวานเทวราช ผู้เป็นพระราชสามีนางอัปสรราชสุชาดา ทรงพระราชทานซึ่งทศวรพิธพรสิบประการแก่พระผุสดีเทพนารีแล้ว ก็ทรงเกษมศานต์โสมนัสผ่องแผ้วปรีดา ด้วยพระทัยอนุโมทนาในกาลบัดนั้นแล ฯ